วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

28 มกราคม 2557
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษEAED2209
เวลา  11.30 - 14.00 น.

หมายเหตุ

          อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสอบกลางภาค และดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติม

ความรู้เพิ่มเติม

                    เด็กพิเศษในปัจจุบันนั้นจะมีหลากหลายรูปแบบมาก อย่างเช่น เด็กพิเศษออทิสติก แอสเพอร์เกอร์ แอลดี สมาธิสั้น สมองพิการ และความบกพร่องทางสติปัญญา
วิวัฒนาการแพทย์ปัจจุบันนั้นจะสามารถตรวจหาความผิดปกติในเด็กได้ตั้งแต่ในครรภ์โดยใช้วิธีการตรวจโครโมโซม แต่ความผิดปกติในเด็กบางอย่างนั้น จะต้องเกิดก่อนถึงจะทราบว่าผิดปกติ ซึ่งคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ไม่ควรที่จะกังวลเกินหรือวิตกจนเกินเห็นเพราะจะมีผลกระต่อต่อเด็กในครรภ์ได้ ซึ่งวันนี้อยากจะนำข้อมูลอ้างอิงทางการแพทย์มาบอกเล่าให้ทราบกันถึงลักษณะของเด็กพิเศษค่ะ
เด็กพิเศษในปัจจุบันนั้นจะมีหลากหลายรูปแบบมาก อย่างเช่น เด็กพิเศษออทิสติก แอสเพอร์เกอร์ แอลดีสมาธิสั้น สมองพิการ และความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น ซึ่งกลุ่มที่คุณพ่อคุณแม่จะสามารถรู้ได้ตั้งแต่ยังไม่เกิดนั้นจะเป็นกลุ่มเด็กที่มีปัญหาความผิดปกติของโครโมโซม เช่นเป็นดาวน์ซินโดรม  จะมีลักษณะผิดปกติทางร่ายกาย ร่วมกับมีความบกพร่องทางสติปัญญา จะสามารถตรวจหาความผิดปกติได้ในช่วงเดือนที่ ของการตั้งครรภ์ ซึ่งความผิดปกติของโครโมโซมนี้จะเกิดกับหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป วิธีการตรวจสามารถทำได้ด้วยการตรวจอัลตร้าซาวน์
ในกลุ่มที่เกิดมาแล้วค่อยรับรู้ถึงความปกติ จะเป็นกลุ่มเด็กที่มีปัญหาสมองพิการ มีความผิดปกติในการเคลื่อนไหว พัฒนาการเนื้อช้า ซึ่งเป็นสิ่งที่สังเกตได้ไม่ยาก เหมือนในกลุ่มเด็กออทิสติก และเด็กสมาธิสั้น กลุ่มเด็กออทิสติกนั้น จะเริ่มเห็นความแตกต่างได้เมื่อเด็กมีอายุขวบปี ซึ่งจะเล่นกับคนอื่นไม่เป็น ไม่มีจินตนาการร่วมในการเล่นบทบาทสมมุติ แถมยังพูดไม่เป็นคำ แต่จะมีภาษาเฉพาะตัวที่เรียกว่า ภาษาต่างดาว ในเด็กที่สมาธิสั้นนั้น สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ดังนี้คือ เด็กจะไม่อยู่นิ่ง สนใจอะไรได้ไม่นาน ไม่สามารถทำงานเสร็จทันเพื่อน มีผลการเรียนต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และจะเป็นคนชอบเล่นรุนแรง
ในส่วนของปัญหาที่ไม่สามารถรู้ก่อนเกิดได้นั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรที่จะเครียดหรือวิตกจริตมากเกินไป ซึ่งหากเครียดมากก็จะยิ่งเสี่ยงให้เด็กเกิดความผิดปกติ ฉะนั้นแล้วคุณแม่ควรดูแลสุขภาพทั้งกายและใจให้ดี ควรที่จะวางแผนก่อนมีลูก เมื่อตั้งครรภ์แล้วควรฝากครรภ์ให้เร็วที่สุด และควรไปตรวจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความผิดปกติต่าง ๆ คุณแม่ควรที่จะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอ เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน การนอนก็เป็นสิ่งสำคัญควรพักผ่อนให้เต็มอิ่ม และไม่ควรทำงานหนักเกินไปเพราะจะเสี่ยงเกิดภาวะแท้งได้ หากคุณแม่มีร่างกายสุขภาพใจที่พร้อมแล้วล่ะก็ เด็กที่เกิดมาก็จะแข็งแรงมีร่างกายครบ 32 และไม่เสี่ยงต่อการเป็นเด็กพิเศษค่ะ



วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

21 มกราคม 2557
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษEAED2209
เวลา  11.30 - 14.00 น.

พัฒนาการของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
พัฒนาการ
·       การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคล
·       ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
·       เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
·       พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง
·       พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้า
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
·       ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
·       ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
·       ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
·       ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.            โรคทางพันธุกรรม
            - เด็กจะมีพัฒนาการล่าช้ามาตั้งแต่เกิดหรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิด มักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย
2.            โรคของระบบประสาท
            - เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการส่วนใหญ่มักมีอาการหรืออาการแสดงทางระบบประสาทร่วมด้วย
            - ที่พบบ่อยคืออาการชัก
3.            การติดเชื้อ
            - การติดเชื้อตั้งแต่อยู่ในครรภ์ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติอาจมีตับม้ามโต การได้ยินบกพร่อง ต้อกระจก
4.            ความผิดปกติที่เกี่ยวกับเมตตาบอลิซัม
-         โรคที่ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขไทย คือ ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5.            ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด
-         การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยและภาวะขาดออกวิเจน
6.            สารคดี
            ตะกั่ว
-         ตะกั่วเป็นสารที่มีผลกระทบต่อเด็กและมีการศึกษามากที่สุด
-         มีอาการซึมเศร้า เคลื่อนไหวช้า ผิวดำหมองคล้ำเป็นจุดๆ
-         ภาวะเป็นพิษ
-         ระดับสติปัญญาต่ำ
            แอลกอฮอร์
-         น้ำหนักแรกเกิดน้อย
-         มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักหลังเกิดน้อย ศีรษะเล็ก
-         พัฒนาการทางสติปัญญามีความบกพร่อง
-         เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
Fetal Alcohol syndrome , FAS
-         ช่วงตาสั้น
-         ร่องริมฝีปากบนเรียบ
-         ริมฝีปากบนยาวและบาง
-         หนังคลุมหน้าตามาก
-         จมูกแบนปลายจมูกเชิดขึ้น
            นิโคติน
-         น้ำหนักแรกเกิดน้อย ขาดสารอาหารในระยะตั้งครรภ์
-         เพื่ออัตราการภายในวัยทารก
-         สติปัญญาบกพร่อง
-         สมาธิสั้น พฤติกรรมก้าวร้าว มีปัญหาด้านการเข้าสังคม
7.            การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร
                        อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
-         มีพัฒนาการล่าช้าซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
-         ปฏิกิริยาสะท้อน Primifiv reflx  ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป
-          
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
            1. การชักประวัติ
-         โรคประจำตัว โรคทางพันธุกรรม
-         การเจ็บป่วยในครอบครัว
-         ประวัติการฝากครรภ์
-         ปะวัติเกี่ยวกับการคลอด
-         พัฒนาการที่ผ่านมา
-         การเล่นตามวัย การช่วยเหลือตัวเอง
เมื่อชักประวัติแล้วจะสามารถบอกได้ว่า
-         ลักษณะพัฒนาการล่าช้าเป็นแบบคงที่
-         เด็กมีระดับพัฒนาการช้าหรือไม่
-         มีข้อบ่งชี้
            2. การตรวจร่างกาย
            3. การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
            4. การประเมินพัฒนาการ
            -      การประเมินแบบไม่เป็นทางการ
การประเมินที่ใช้ในเวชปฏิบัติ
-         แบบทดสอบ Denver ll
-         Gesell Drawing Test
-         แบบประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือส่งเสริมพัฒนาการเด็กอายุแรกเกิด – 5 ปี
แนวทางในการดูรักษา
-         หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
-         การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
-         การรักษาสาเหตุโดยตรง
-         การส่งเสริมพัฒนาการ
-         ให้คำปรึกษากับครอบครัว
ขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
-         การตรวจคัดกรองพัฒนาการ
-         การตรวจประเมินพัฒนาการ
-         การให้การวินิจฉัยและหาสาเหตุ
-         การให้รักษาปละส่งเสริมพัฒนาการ
-         การติดตามและประเมินผลการรักษาเป็นระยะ

 กลุ่มดิฉนได้นำเสนองานกลุ่ม ชื่อเรื่อง ออทิสติก


      



วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

14 มกราคม 2557
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษEAED2209
เวลา  11.30 - 14.00 น.

หมายเหตุ
       ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเพื่อนบางคนไม่สามารถมาเรียนได้ เกิดจากการ Shut Down BKK


ปิดกรุงเทพ 14 ม.ค. 57 เกาะติดข่าว bangkok shutdown ล่าสุดวันนี้
สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
            เกาะติดข่าว ปิดกรุงเทพฯ 14 ม.ค. 57 ม็อบ กปปส. ยังปักหลักทุกเวที รอปฏิบัติการ bangkok shutdown วันที่ 2
            สวนลุม ที่ปักหลักค้างคืน เริ่มปฏิบัติภารกิจส่วนตัวตั้งแต่ช่วงเช้า ก่อนรอฟังความชัดเจนของแกนนำ ขณะที่ "ถาวร" เผย ม็อบชัตดาวน์เกินคาด ด้าน เลขา สมช. บอก ปิดกรุงเทพฯ ไม่เกินเป้าหมาย ย้ำไม่ขยายพื้นที่ พ.ร.บ.มั่นคง ยันกำลังพลเพียงพอ
            วันที่ 14 มกราคม 2557 บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ทุกเวที ยังคงเป็นไปอย่างปกติ โดยกลุ่มผู้ชุมนุมที่ได้มีการปักหลักพักค้างคืนบริเวณสถานที่ชุมนุมตั้งแต่เมื่อคืนนี้ ได้ทยอยปฏิบัติภารกิจส่วนตัวและทำความสะอาดพื้นที่บริเวณชุมนุมโดยรอบ รอการเปิดเวทีอย่างเป็นทางการในช่วงสาย และรอฟังความชัดเจนของแกนนำในการเคลื่อนไหว
           ขณะที่ ทางฝั่งของ นปช. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงค่ำวานนี้ (13 มกราคม 2557) ทางกลุ่ม นปช. ได้เปิดเวทีหยุดรัฐประหารต้านกบฏ ขึ้นที่บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเรียกร้องให้ กปปส. ยุติการปิดกรุงเทพฯ และรณรงค์ประชาชนให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557
           ทั้งนี้ แกนนำ นปช. ได้ขึ้นกล่าวโจมตีการทำงานขององค์กรอิสระ อาทิ กกต. และศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีทีท่าเหมือนเป็นชู้กับ กปปส. และการกระทำของกลุ่ม กปปส. ที่ปิดกรุงเทพฯ ว่า ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พร้อมประกาศว่าหากมีการรัฐประหารหรือยึดอำนาจ ก็จะพา นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไปตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นมาต่อสู้กับเผด็จการ
           ส่วนทางด้าน นายวีระกานต์ มุสิกพงษ์ แกนนำ นปช. ได้เรียกร้องให้ประชาชนทั่วประเทศ ต้านรัฐประหารและกลุ่มกบฏ พร้อมเชิญชวนให้ออกมาเลือกตั้งกันเยอะ ๆ เพื่อเป็นการสั่งสอนว่าคนไทยส่วนใหญ่ รักษากติกาตามระบอบประชาธิปไตย ไม่เอารัฐประหารและไม่เอาเผด็จการ อย่างไรก็ดี หลังจากที่แกนนำกล่าวปราศรัยเสร็จแล้ว ก็ได้รวมตัวกับประชาชนจุดเทียนเพื่อให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ด้วย
เกาะติดสถานการณ์ม็อบ กปปส. ปิดกรุงเทพฯ 14 มกราคม 2557
              22.00 น. อิสสระ สมชัย ประกาศปิดสะพานข้ามแยกลาดพร้าวตั้งแต่ 16.00-06.00 น. ตั้งแต่พรุ่งนี้ เพื่อความปลอดภัย
              21.46 น. กปปส. เวทีสวนลุมพินี ประกาศเตรียมเดินขบวนไปปิดสถานที่ราชการตั้งแต่ 07.30 น.
              20.21 น. พรุ่งนี้ (15 ม.ค.) เวลา 09.00 น. สุเทพ จะนำมวลชนจากเวทีอโศก เดินขบวนเรียกแขกที่ทองหล่อ-เอกมัย
              17.50 น. คปท. ใช้ถนนราชดำเนินชุมนุมต่อ หลังจาก กปปส. ย้ายออก ทำให้ถนนราชดำเนินหลายส่วนยังคงถูกปิดอยู่
              17.42 น. บรรยากาศที่เวทีราชประสงค์ เริ่มมีประชาชนทยอยเดินทางมาร่วมชุมนุมกับ กปปส. อย่างต่อเนื่อง
              17.35 น. สุเทพ ประกาศเตือน 7 รมต. ให้ระวังบ้านโดนตัดไฟ
              17.23 น. เวทีสวนลุมพินี แยกศาลาแดง มีประชาชนทยอยเดินทางมาร่วมชุมนุมในช่วงเย็นอย่างหนาแน่น
              17.13 น. ขบวน กปปส. กำลังเดินข้ามสะพานแยกสามเหลี่ยมดินแดง เพื่อมุ่งหน้าเวทีอนุสาวรีย์ชัยฯ
              17.07 น. หลวงปู่พุทธะอิสระ ประกาศยุบรวมเวทีที่ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ ให้เหลือเวทีหน้าดีเอสไอ เพียงเวทีเดียวเท่านั้น หลังจากหารือกับสุเทพ


รูปที่ดิฉันได้ไปประท้วง เพื่อชาติ

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

มกราคม 2557
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษEAED2209 
เวลา  11.30 - 14.00 น.

เพื่อนๆนำเสนองานกลุ่มดังนี้
-เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
-เด็กที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรมหรืออารมณ์

บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายหรือสุขภาพ

ความหมาย
        บุคคลที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย หรือสุขภาพหมายถึงบุคคลที่มีอวัยวะ
   ไม่สมส่วนอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไปกระดูกและกล้ามเนื้อพิการเจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงมีความพิการของระบบประสาท  มีความลำบากในการเคลื่อนไหวซึ่งอุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ
สาเหตุ
1.มีความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก
2.โรคทางพันธุกรรม
3. ความผิดปกติระหว่างคลอดหรือหลังคลอด  
ความบกพร่องทางสุขภาพ 
1. โรคลมชัก
2. โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด                
3. โรคเบาหวาน              
4. โรคข้ออักเสบรูมาตอย                 

5. โรคศีรษะโต 

6. โรคหัวใจ               
7. โรคมะเร็ง
8. บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด
วิธีการดูแล
การดูแลเอาใจใส่ให้ความรัก  ความเมตตา  การเลี้ยงดูอย่างเด็กปกติ                 
2  ผู้ที่เกี่ยวข้องยอมรับและเข้าใจในตัวเด็ก
3. พาเด็กออกสู่สังคม              
4. การฝึกหัดในการทำกิจกรรมต่างๆ  ควรเริ่มจากกิจกรรมที่ง่ายๆ                 
5. เปิดโอกาสให้เด็กได้ฝึกฝนกิจกรรมต่างๆด้วยตัวเอง         
6. พ่อ  แม่  ผู้ปกครอง  ควรให้ความร่วมมือกับทีม               
7. การฝึกหัดเด็กต้องทำอย่างสม่ำเสมอและด้วยอารมณ์มั่นคง  
8. การให้กำลังใจบุคคลที่มีเกี่ยวข้อง
http://school.obec.go.th/sakeaw/image/gcute03.gifบุคคลที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาhttp://school.obec.go.th/sakeaw/image/gcute03.gif
ความหมาย 
บุคคลที่มีภาวะจำกัดในการปฏิบัติงานและแสดงลักษณะความสามารถทางสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ปกติปรากฏร่วมกับมีความจำกัดทางทักษะด้านการปรับตัวอย่างน้อย 2 ทักษะหรือมากกว่า ทั้งนี้ต้องมีภาวะความบกพร่องทางสติปัญญาเกิดขึ้นก่อนอายุ 18 ปี
สาเหตุ
1.กรรมพันธุ์ โดยมีความผิดปกติของพันธุ์กรรมซึ่งทำให้เกิดภาวะปัญญาอ่อน ร่วมกับความพิการทางร่างกาย
2.สิ่งแวดล้อม ที่ทำให้สมองหยุดชะงักการเจริญเติบโต

แนวทางการพัฒนา
1.สนับสนุนทางกรศึกษา
2.ให้กำลังใจให้ความรัก
3.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม

บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์
ความหมาย
บุคคลที่มีอารมณ์และพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กและผู้อื่น เป็นผลมาจากความขัดแย้งของเด็กกับสภาพแวดล้อม หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวเด็กเองขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือผู้อื่น
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์แลพฤติกรรม
1.การก้าวร้าว-ก่อกวน
2.การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
3.การปรับตัวทางสังคมเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมมีการปรับตัวทางสังคมไม่ถูกต้อง4.ความวิตกกังวลและปมด้อย
5.การหนีสังคมหรือการปลีกตัวออกจากสังคมเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบนอย่างหนึ่ง
6.ความผิดปกติในการเรียน
การให้ความช่วยเหลือ
การดูแลป้องกัน
การวินิจฉัยโรค
ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และพฤติกรรม
ดนตรีบำบัด
การยอมรับ
การจัดการศึกษา
การพัฒนาให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู ส่งเสริมพัฒนาการในทุกด้านเพื่อการอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข
จัดรูปแบบการช่วยเหลือรายบุคคล
ร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย/เป็นศูนย์กลางการช่วยเหลือ