วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

17 ธันวาคม 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ EAED2209

เวลา  11.30 - 14.00 น.

หมายเหตุ
         ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากเป็นกีฬาสีของคณะศึกษาศาสตร์และดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติม

 เด็กที่มีความต้องการพิเศษ

            การศึกษาพิเศษ (Special Educational) เป็นกระบวนการจัดการศึกษาให้สำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ได้แก่ เด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญา เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เด็กพิการซ้ำซ้อน เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสายตา เด็กที่มีความบกพร่องด้านการได้ยิน เด็กที่มีปัญหาด้านอารมณ์ และสังคม หรือเด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม ซึ่งเด็กกลุ่มพิเศษเหล่านี้จะไม่สามารถได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการจัดการศึกษาแบบเดียวกันกับเด็กปกติ ดังนั้น การศึกษาพิเศษจึงมีความจำเป็นต่อการจัดการศึกษาแก่เด็กกลุ่มพิเศษดังกล่าว ซึ่งการจัดการศึกษาพิเศษได้รวมถึงด้านกระบวนการสอน วิธีการสอน เนื้อหาวิชา (หลักสูตร) เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่สนองตอบต่อความสามารถ และความต้องการของเด็กพิเศษเป็นรายบุคคล 

              การศึกษาพิเศษยังเป็นวงการที่แคบมากทางการศึกษาไทย แต่ผู้ที่มีความต้องการพิเศษกลับเพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็ยังมีผู้คนอีกมากมายที่มองข้าม และไม่รู้ความหมายว่าการศึกษาพิเศษนั้นคืออะไร ครูการศึกษาพิเศษนั้นคือใคร เกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษอย่างไร? เอาเป็นว่าการศึกษาพิเศษเป็นการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความต้องการของบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ ไม่ว่าจะเป็น เด็กปัญญาเลิศ เด็กที่มีความบกพร่องด้านสติปัญญา เด็กที่มีปัญหาด้านการเรียนรู้ เด็กพิการซ้ำซ้อน เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ เด็กที่มีความบกพร่องด้านทางการเห็น เด็กที่มีความบกพร่องด้านการได้ยิน เด็กที่มีปัญหาด้านอารมณ์ และสังคม หรือเด็กที่มีปัญหาด้านพฤติกรรม ซึ่งเด็กกลุ่มพิเศษเหล่านี้จะไม่สามารถได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากการจัดการเรียนการสอน และสาธารณประโยชน์ทางสังคม ครูการศึกษาพืเศษจึงได้จัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเด็กแต่ละบุคคล แตกต่างกันออกไปตามความสามารถ และศักยภาพของเด็ก ครูการพิเศษต่างมีความอดทนสู้เพื่อที่ฝึกฝนและพัฒนาเด็กที่มีความต้องการพิเศษให้สามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้อย่างมีความสุข พยายามสู้กับสังคมอันเลวร้ายที่มองว่าเด็กที่มีความต้องการพิเศษหรือพิการนั้น เป็นบุคคลที่ไร้ความสามารถ จึงพิสูจน์ให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคม ให้เป็นที่ยอมรับจนบุคคลที่มีความต้องการพิเศษนั้นสามารถยืนหยัดอยู่ในสังความได้อย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคนปกติ พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ ( ๒๕๕๑)กล่าว บุคคลซึ่งมีข้อจำกัดในการปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคม เนื่องจากมีความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร จิตใจ อารมณ์ พฤติกรรม สติปัญญา การเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นใดประกอบกับมีอุปสรรคในด้านต่างๆ และมีความต้องการจำเป็นพิเศษทางการศึกษาที่จะต้องได้รับความช่วยเหลือด้านหนึ่งด้านใด เพื่อให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันหรือเข้าไปมีส่วนร่วมทางสังคมได้อย่างบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ ตามประเภทและหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการประกาศกำหนด สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาตาม มาตราที่ ๕ ระบุไว้ว่า คนพิการมีสิทธิทางการศึกษาดังนี้ (๑) ได้รับการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการจนตลอดชีวิต พร้อมทั้งได้รับเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา (๒) เลือกบริการทางการศึกษา สถานศึกษา ระบบและรูปแบบการศึกษา โดยคำนึงถึงความสามารถ ความสนใจ ความถนัดและความต้องการจำเป็นพิเศษของบุคคลนั้น (๓) ได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา รวมทั้งการจัดหลักสูตรกระบวนการเรียนรู้ การทดสอบทางการศึกษา ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษของคนพิการแต่ละประเภทและบุคคล





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น