24 ธันวาคม 2556
วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษEAED2209
เวลา 11.30 - 14.00 น.
หมายเหตุ
ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากสอบกลางภาค
และดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติม
ปัญหาพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี
จากการศึกษาพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี พบว่า
เด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทอย่างรวดเร็ว โดยมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อ
(synapse) ของใยประสาท
ซึ่งใยประสาทเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ ความคิด ความจำ
ตลอดทั้งพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก
ลักษณะพฤติกรรมเด็กวัย 1-3 ปี
จากการศึกษาพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี พบว่า
เด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทอย่างรวดเร็ว
โดยมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อ (synapse) ของใยประสาท
ซึ่งใยประสาทเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ ความคิด ความจำ
ตลอดทั้งพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก
ประกอบกับธรรมชาติของเด็กวัยนี้เริ่มมีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายจากการค้นคว้า
และสำรวจสิ่งใหม่ๆ รอบตัว มีความเป็นตัวของตัวเอง
มีความพร้อมทางทักษะของพัฒนาการมากขึ้น สามารถยืน เดิน วิ่ง ได้ด้วยตนเอง
ชนิดของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
1. พันธุกรรม ปัญหาลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น เด็กกลุ่มอาการดาวน์
เด็กกลุ่มนี้มี
ระดับสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติ
เรียนรู้ช้า มีความสนใจสั้น มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ
เด็กเหล่านี้มีการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ
ไม่คล่องตัวเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก
2. สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่
มักมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
แทบทั้งสิ้น สภาพครอบครัว
การเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง มีอิทธิพลสูงต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้น
สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกิดสภาพความกดดัน
และมีผลต่อการปรับตัวของเด็ก
บางครั้งจะพบว่าเด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่มากเกินไป (overprotection) หรือน้อยเกินไป(neglected)หรือขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม (improper stimulation) ตามสภาพของเด็กแต่ละคน {mospagebreak}
ลักษณะพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
1. พฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่ง (ซน)
จะพบว่าส่วนใหญ่เด็กวัยนี้ มีความอยากรู้อยากเห็น ต้องการสำรวจตรวจค้นอยู่แล้ว
ตลอดทั้งมีภาวะอยู่ไม่นิ่ง ซน และมีช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
เคลื่อนไหวตัวเองอย่างไร้จุดหมาย
แต่ลักษณะพฤติกรรมเช่นนี้จะพบในเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
วิธีการแก้ไข
1.1 จัดสภาพแวดล้อมให้เป็นระเบียบ โดยลดสิ่งเร้ารอบตัวเด็ก เช่น
เก็บของเล่นของเด็กเข้าตู้
หรือลิ้นชักให้เรียบร้อย
ลดภาพหรือเครื่องตกแต่งภายในห้องเด็กให้เหลือน้อยที่สุด
เพื่อจะไม่กระตุ้นความสนใจของเด็กมากนัก
1.2 สร้างพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับเด็ก โดยใช้วิธีปรับพฤติกรรม
โดยการสร้างเสริมความ
สนใจและคงสมาธิในขณะทำกิจกรรม
เพื่อลดพฤติกรรมการอยู่ไม่นิ่งของเด็ก
โดยการใช้ของเล่นเพื่อกระตุ้นความสนใจและคงสมาธิให้เด็กมีมากขึ้น
อาจให้เด็กเล่นของเล่นครั้งละ 1 ชิ้น เมื่อเล่นเสร็จ ให้สัญญาณเตือนเด็กกว่า “จบ” หรือ“เสร็จ” และบอกว่า “เก็บ” กระตุ้นให้เด็กนำของเล่นเก็บเข้าที่
และเลือกของเล่นชิ้นต่อไปนำมาเล่นอย่างต่อเนื่อง โดยช่วงเวลาของการเล่นในระยะแรก
อาจเป็นช่วงสั้นๆ ประมาณ 1-2 นาที/ชิ้น และค่อยๆ
เพิ่มระยะเวลาในการเล่นกับเด็กต่อไป
ปัญหาของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กในวัยนี้ไม่ยากที่จะแก้ไข
ถ้าเข้าใจถึงพัฒนาการของเด็กและเทคนิคการปรับพฤติกรรมอย่างเหมาะสม
ก็สามารถนำเด็กไปสู่พฤติกรรมที่ดีที่เหมาะสมตามวัยของเด็กได้
สรุป
การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของเด็กนั้น คุณพ่อคุณแม่ต้องยอมรับและตระหนักถึงปัญหาพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก่อน
จากนั้นต้องพยายามหาสาเหตุของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันโดยทางพันธุกรรมและการอบรมเลี้ยงดู
วิธีการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมแบบหนึ่ง อาจเหมาะสมกับเด็กคนหนึ่ง
แต่อาจไม่เหมาะสมกับเด็กอีกคนหนึ่งก็ได้ ซึ่งการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของเด็กก็ควรทำเป็นรายบุคคล
ถ้าคุณพ่อคุณแม่เข้าใจ และบำบัดพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ทันท่วงที
ก็จะสามารถขจัดปัญหาพฤติกรรมนั้นได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น